ประวัติไอศกรีมและต้นกำเนิดไอศครีมในประเทศไทย

ประวัติไอศกรีม
         
           จุดเริ่มต้นของไอศกรีมในระดับสากล นายโทมัส อาร์ควินนี่ เล่าว่า การรับประทานไอศกรีมน่าจะเริ่มต้นกันมาตั้สมัยจักรพรรดิเนโรห์ แห่งอนาจักรโรมันที่ได้พระราชทานเลี้ยงไอศกรีมแก่เหล่าทหารหาญที่อยู่ในกอง ทัพของพระองค์ แต่ในขณะนั้นไอศกรีมเกิดจากเป็นการนำหิมะมาผสมเข้ากับน้ำผึ้งและผลไม้ ต่อมาเรียกไอศกรีมประเภทนี้ว่า เชอร์เบ็ท(Sherbet)นั่นเอง
ไอศกรีมเชอร์เบ็ท
cloudfront.net


        แต่ตำนานนี้ก็หาได้เป็นแค่ตำนานเดียวที่เล่าสืบต่อกันมาถึงต้นกำเนิดของ ไอศกรีมไม่หาก แต่บางกระแสก็ระบุว่าบรรพชนของคนจีนค้นพบไอศกรีมเป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ 4,000 ปีที่ผ่านมา ซึ่งลักษณะของไอศกรีมในประเทศจีนทำมาจากข้าวบดผสมกับนมสดที่เย็นจนเป็นน้ำ แข็งและได้มีการสอนให้ทำไอศกรีมให้กับคนอินเดียและชาวเปอร์เชียอีกด้วย

        การก่อกำเนิดไอศกรีมตามตำนานประเทศจีนระบุว่า เป็นเรื่องของความบังเอิญทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศจีนในสมัยนั้น เพิ่งจะมีการรู้จักรีดนมจากสัตว์เลี้ยงที่อยู่ในฟาร์ม เมื่อรีดนมออกมาจำนวนมากก็บริโภคไม่หมด ประกอบกับน้ำนมเป็นสินค้าที่มีราคาแพงมากๆ คนชั้นสูงเห็นท่าไม่ดีจึงเกิดแนวคิดนำน้ำนมไปหมกซ่อนไว้ในหิมะนัยว่าเพื่อ ต้องการที่จะถนอมน้ำนมเอาไว้รับประทานได้นานๆเกิดขึ้นด้วยความบังเอิญจน กระทั่งน้ำนมที่นำไปหมกไว้ในหิมะกลายเป็นนมแช่แข็งขึ้นมาในบัดดล จากนั้นก็มีการพัฒนารูปแบบจากนมแช่แข็งที่แสนจะสุดธรรมดาให้กลายเป็นน้ำผล ไม้แช่แข็ง ในส่วนของราชวงศ์โมกุลได้นำเอานมต้มมาผสมกับถั่วพิสตาซิโอจนเกิดเป็นของหวาน แช่แข็งเรียกกันว่า Kulfi ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นแบบแผนของไอศกรีมในยุคโบราณ
Mango Kulfi
          จนปลายศตวรรษที่ 13 มาร์โคโปโล เดินทางไปจีน และชื่นชอบ จึงนำสูตรกลับไป อิตาลีขณะเดินทางมีการเติมนมลงไป กลายเป็นสูตร ของเขาโดยเฉพาะ และแพร่หลายไปในอิตาลี ฝรั่งเศสและข้ามไปอังกฤษ คนอิตาลีถือว่าตนเองเป็นต้นตำรับไอศกรีมแบบที่นำมาปั่นให้เย็นจนแข็ง เรียกว่าเจลาติ (Gelati) ประเทศอิตาลีและมีการพัฒนาไปมากจนทำให้อิตาลีได้ชื่อว่าเป็นแหล่งไอศกรีม เลิศรสเลยทีเดียว ขณะเดียวกันคนอิตาลีมักจะทึกทักเอาว่าบรรพชนของตนเป็นคนค้นพบไอศกรีมเป็น ครั้งแรกเสมอมา
         เส้นทางการแพร่หลายของเจ้าไอติม ที่ น่าสนใจก็คือเมื่อประมาณศตวรรษที่ 14 ไอศกรีมได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศเทศอิตาลีและฝรั่งเศส ซึ่งในประวัติศาสตร์ ของไอศกรีมช่วงนี้ระบุว่า ในงานฉลองอภิเษกสมรสระหว่างแคเธอรีน เดอ เมดิซี แห่งเวนิชกับกษัตริย์เฮนรี่ที่ 2 ของฝรั่งเศสได้มีการนำ ของหวานกึ่งแช่แข็งมาเสริฟแขกเหรือที่มาร่วมงาน สำหรับรูปร่างหน้าตาเหมือนกับไอศกรีมไม่มีผิดเพี้ยน และนี้ก็เป็นอีกจุดหนึ่งทำให้ ไอศกรีมกลายเป็นของหวานของคนค่อนโลกไปโดยปริยาย


แคเธอรีน เดอ เมดิซี แห่งเวนิช
         ในช่วงแรกๆที่มีไอศกรีมต้องผ่านการผลิตที่ค่อนข้างจะยุ่งยากเนื่องจาก ต้องใช้เวลาและต้องลงแรงตามสมควร เมื่อได้ผลิตผลจากการลงแรงที่เป็นไอศกรีมเย็นเฉียบแล้ว ก็ต้องเกณฑ์คนมาช่วยกันรับประทานให้หมดมิเช่นนั้นแล้วไอศกรีมก็จะละลายกลาย เป็นน้ำไปในเวลาอันรวดเร็ว กลายเป็นการลงทุนที่สูญเปล่า


         แถบยุโรปประมาณ ค.ศ.1670 ฟรานเอสโก ได้นำไอศกรีมไปจำหน่ายภายในร้านกาแฟของเขาเพื่อให้บริการลูกค้าของเขาปรากฏ ว่าได้รับความสนใจกันอย่างกว้างขวางมากทีเดียวไอศกรีมได้รับการพัฒนากระบวน การผลิตขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่ง ค.ศ.1846 แนนซี่ จอห์นสัน ก็สามารถสร้างเครื่องผลิตไอศกรีมขึ้นมาได้เป็นครั้งแรก และนับเป็นจุดที่ทำให้ไอศกรีม เผยแพร่เข้าไปทั่วโลกก็ว่าได้
เครื่องทำไอศกรีมของ แนนซี่ จอห์นสัน
autostraddle.com


คนขายไอศกรีมในกรุงโรม ศตวรรษที่ 19
vienna-insight.at 
           ในที่สุดการแพร่หลายของไอศกรีมจากฝรั่งเศสเข้าไปอเมริกา ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 จนไอศกรีมกลายเป็นของหวานที่ผู้คนชื่นชอบกันมาก ในช่วงนี้ตำนานไอศกรีมในสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะ "ไอศกรีมซันเดย์"ได้ถือกำเนิดขึ้นท่ามกลางความอึมครึมเนื่องจากยังไม่มีข้อ สรุปที่แน่ชัดว่า เกิดขึ้นในรัฐไหนกันแน่ แต่ที่แน่ๆในราวๆปี ค.ศ. 1892 ไอศกรีมซันเดย์ได้ถือกำเนิดขึ้นท่ามกลางความตื่นเต้นของอเมริกันชนสมัยนั้น อย่างถ้วนหน้า
ไอศกรีมซันเดย์
lecremedelacrumb.com

ต้นกำเนิดไอศครีมในประเทศไทย

           ส่วนสังคมไทยไอศกรีมได้เข้ามาปรากฏตัวในตั้งแต่รัชสมัยของรัชกาลที่ 4 คาบเกี่ยวถึง รัชกาลที่ 5 โดยเข้ามาทางประเทศสิงคโปร์ในขณะนั้นมีการนำน้ำแข็งเข้ามาก่อนที่จะนำไอศกรีมเข้ามา คนไทยสมัยนั้นมักจะเรียกไอศกรีมกันติดปากว่า "ไอศครีม"หรือ"ไอติม"และนับเป็นของหวานประเภทเดียวที่สร้างความประหลาดให้กับสังคมไทยเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากต้องใช้ความเย็นเป็นตัวสำคัญในการทำ
          เล่ากันว่าสังคมไทยสมัยรัชกาลที่ 4 มีการจำหน่ายกันเฉพาะน้ำแข็งที่ใส่น้ำหวาน ต่อมาได้พัฒนาเป็นไอติมหลอดเนื่องจากนำน้ำหวานลงไปในหลอดโดยผสมออกเป็นหลายรสชาติ ขณะเดียวกันก็ผสมสีลงไป ทั้งสีแดง สีส้ม สีเขียว สีดำ สีชา ทั้งนี้เพื่อที่จะสร้างความสวยงามแปลกใหม่ และสามารถสร้างแรงดึงดูดลูกค้าตัวน้อยๆได้อีกทางหนึ่ง และที่สำคัญมีการนำกลยุทธ์การตลาดแจกแถมขึ้นมาใช้กันด้วย โดยการนำสีแดงไปทาไว้ที่ไม้ไผ่ซึ่งใช้เสียบไอติมหลอด ใครซื้อได้ไม้เสียบสีแดงก็สามารถที่จะนำไม้ มาแลกไอติมหลอดฟรีๆได้อีก 1 อัน
ไอติมหลอด
cdninstagram.com

              ในรัชกาลที่ 5 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงบันทึกไว้ในความทรงจำในหนังสือความทรงจำ หลังการเสด็จประพาสสิงคโปร์ เมื่อปีพุทธศักราช2414ว่าไอศครีมเป็นของวิเศษในเวลานั้น เพราะเพิ่งได้เครื่องทำน้ำแข็งอย่างเล็กที่สำหรับ เขาทำกันตามเมืองไทย ทำบางวันน้ำก็แข็ง
บางวันก็ไม่แข็งมีไอศครีมตั้งเครื่อง  แต่บางวันจึงเห็นเป็นของวิเศษ ซึ่งจากคำกล่าวที่ว่านี้ การทำไอศครีม จะต้องมีน้ำแข็งเป็นขอดงควบคู่กัน จากการค้นคว้าของ อเนก นาวิกมล กล่าวว่า “ มีการนำน้ำแข็งเข้ามาครั้งแรก จากสิงคโปร์และภายหลังก็มีการตั้ง โรงงานผลิตน้ำแข็งขึ้นขายหลัง ปีพุทธศักราช 2432 ถ้าดูจากหนังสือและเอกสารต่างๆจะพบว่าไอศครีมในสมัยแรกจะเริ่มต้น ในวังก่อนที่จะมีการแพร่หลายไปทั่ว ชาวบ้านมักเรียกกันว่า " ไอติม
 " 
โรงน้ำแข็งสยาม โรงน้ำแข็งแห่งแรกของประเทศไทย
cdninstagram.com

ที่มา : http://pirun.ku.ac.th/~b521100029http://pirun.ku.ac.th/~b5311001488

ความคิดเห็น